ประเด็นที่น่าคิดในเรื่องคดีคุณทักษิณนี้ คือ ไม่ใช่คู่ความในคดี จะมีสิทธิยื่นคำร้องในคดีได้มั้ย..
เช่น คดีแตงโม เอกชนไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย แม้ไม่เห็นด้วยกับคดี ก็ไม่มีสิทธิยื่นฟ้อง หรือขอเข้าร่วมเป็นโจทก์..
อันนี้ชัดเจน ทราบกันดีอยู่แล้วในหมู่นักกฎหมาย.. ไม่เกี่ยวข้อง ไม่มีกฎหมายให้อำนาจ.. ย่อมไม่มีสิทธิเข้ามายุ่งเกี่ยวในคดี.. ถ้ายื่นเข้ามา ศาลก็ต้องยกคำร้อง..
ที่น่าคิดในแง่วิชาการมากกว่านั้น.. มากกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ ก็คือ..
ถ้าข้อมูลของบุคคลภายนอกน่าสนใจ อาจมีผลเกี่ยวกับคดี.. ศาลจะทำอะไรได้บ้าง.. และถ้าเป็นประโยชน์ต่อสังคม ทำอย่างไรให้ข้อมูลนั้นเข้าสู่ศาล..
เรื่องแบบนี้ เข้ามาสู่หู สู่ตา สู่ความรับรู้ของผู้เขียนหลายเรื่อง..
สมัยนั้น ผู้เขียน เห็นเป็นการส่วนตัวว่า.. ศาลยกคำร้องนั้นถูกแล้ว.. แต่ก็ควรพิจารณาเนื้อหาของคำร้องนั้นด้วย..
ถ้าไร้สาระ ไม่เป็นประโยชน์.. ก็ปล่อยไป..
ถ้าเห็นว่า มีสาระ อาจมีผลกระทบต่อการวินิจฉัยคดี.. ศาลก็มีอำนาจเรียกไต่สวนเจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้..
แต่ไม่ใช่รับคำร้อง แล้วเรียกไต่สวนให้ตามคำร้องของบุคคลภายนอกนะครับ..
ต้องถือว่า เป็นอำนาจทั่วไปในการผดุงความเป็นธรรมและความถูกต้อง.. เมื่อศาลเห็นสมควรเอง.. โดยไม่มีคู่ความร้องขอในสายตาของกฎหมาย..
ก็ได้แต่คิด และอยากให้หลายศาลทำ คือ เรียกไต่สวนเองได้ ถ้ามีข้อมูลที่น่าจะเป็นประโยชน์ โดยไม่ต้องเกรงว่าทำไม่ได้.. เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจ..
มีกฎหมายให้อำนาจครับ.. ก็คำว่า “ตามที่ศาลเห็นสมควร” ที่เขียนไว้ในกฎหมายมากมาย..
นั่นล่ะ คือ เจตนารมย์ ที่เปิดโอกาสให้ศาลหยิบยกเรื่องใดๆได้เอง.. ถ้ามีเหตุผลและข้อมูล เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม..
เหมือนเวลาศาลสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยทั่วไปก็จะสั่งเรื่องหลักประกัน การงดหมายขัง และเงื่อนไขต่างๆเท่านั้น..
แต่ถ้าศาลเห็นว่า เป็นคดีข่มขืน คดีทำร้ายร่างกาย พยายามฆ่า.. ศาลจะสั่งเพิ่มลงไปว่า..
“และให้มีหนังสือแจ้งผู้เสียหายทราบว่าจำเลยได้ประกัน..
หากจำเลยไปข่มขู่คุกคาม จูงใจ หรือทำลายพยานหลักฐาน ให้มาแจ้งศาลทราบ..
เพื่อพิจารณาสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว”
การสั่งแบบนี้ทำได้มั้ย.. เพราะไม่มีกฎหมายเขียนให้ทำได้ หรือห้ามทำ..
ผู้เขียนเห็นว่าทำได้.. เพราะเป็นประโยชน์ ไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรม.. และก็เคยเขียนเพิ่มเติมแบบนี้เวลาสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราวมาแล้ว..
แต่เสียดายที่คดีต่างๆ ที่ผ่านมา มักจะเห็นแค่ศาลสั่งยกคำร้องของคนนอกคดี.. ไม่ค่อยเห็นศาลสั่งไต่สวนเองจากข้อมูลที่ได้นั้น..
วันนี้ ได้ข่าวว่า คดีคุณทักษิณนั้น ศาลฎีกาไม่มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้อง เพราะเขาไม่ใช่คู่ความ ไม่เกี่ยวข้องกับคดี.. ซึ่งก็เสมือนกับยกคำร้อง คือไม่พิจารณาให้ ซึ่งถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย..
บรรดานักกฎหมายคงเดาผลได้ล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนยื่นคำร้องแล้ว..
แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือ..
ศาลฎีกาท่านสั่งเพิ่มเติมอีกว่า.. ด้วยข้อมูลที่ได้จากคำร้อง เห็นสมควรนัดให้ราชทัณฑ์และผู้เกี่ยวข้องมาไต่สวนเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เพื่อพิจารณามีคำสั่งต่อไป..
เยี่ยมมากครับ..
คำสั่งศาลฎีกาลักษณะนี้ น่าจะเป็นแนวทางและยึดถือเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ได้..
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=679638418337646&id=100088744805547
Cr. facebook สมชาย แสวงการ, ดร.ธีร์รัฐ บุนนาค